ช่วงสองเดือนที่ผ่านมาผมกับพรรคพวกย่ำเท้าออกเดินไปในตรอกซอกซอยทั้งฝั่งกรุงเทพฯ และฝั่งธนบุรี ที่ทำอย่างนั้นเพราะอยากนำเรื่องราวบางกอกออกมาเผยแพร่ เพื่อให้สาธารณชนได้รู้ว่ายังมีชุมชนคนกรุงที่ฝังตัวอยู่กับรอยอดีตอันงดงามมากมายหลายแห่ง
แต่ละแห่งหมายรวมถึงคุณค่าที่ก่อเกิดและยังคงอยู่ ครั้งแรกเราไปกอดบางรัก
ครั้งหลังปักหลักกันที่เทเวศร์
พระอุโบสถวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
องค์พระประธานในอุบสถ วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
ฐานพระประธานวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร เป็นฐานที่งดงามมาก
ประกอบด้วยปูนปั้นลายไทยประดับกระจกสี
ภายในพิพิธภัณฑ์ไม้สัก วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
ชั้น 2 ประกอบด้วยพระบรมสารีริกธาตุ หุ่นขี้ผึ้งเกจิอาจารย์
ห้องทรงงานรัชกาลที่ 5 รวมถึงอื่นๆ ที่น่าสนใจอีกมากมาย
พระสยามเทวาธิราชในพิพิธภัณฑ์ไม้สัก
อาคารพิพิธภัณฑ์ไม้สัก วัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
อาคารแบบยุโรปในวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
ใครหลายคนอาจคิดไม่ออกว่าย่านเทเวศน์ สามเสน จะมีอะไรน่าสนใจมากไปกว่าถนนสายแคบริมแม่น้ำเจ้าพระยา (ไปเดินเล่นห้างสรรพสินค้าดีกว่าเป็นไหนๆ)
สำหรับผมๆ อยากกลับไปแถวนั้น อยากกลับไปเพราะมีความทรงจำทั้งดีและไม่ดี ถ้าย้อนความตามลำดับต้องเริ่มตั้งแต่ตอนมาเรียนกรุงเทพฯ ใหม่ๆ ผมคุ้นเคยย่านนี้ดีเพราะถนนสามเสนเป็นถนนสายเดียวที่ใชับ่อยที่สุด
บ่อยเพราะบ้านพักอยู่บางโพ โรงเรียนอยู่ศรีย่าน ตำนานอยู่สนามหลวง วันเสาร์อาทิตย์ถ้าไม่แรดไปไหนต้องไปช่วยยายขายกุ้งแห้ง
กะปิ พริกแกง ที่สนามหลวง (ยุคนั้นตลาดนัดยังอยู่สนามหลวง ไม่ใช่สวนจตุจักร) ไปสนามหลวงก็ใช้ถนนสามเสนสายนี้ ใช้ทุกวัน อยู่กับมันทุกวัน ฉะนั้นจึงสนิทชิดเชื้อกับมันเป็นอย่างดี
ภายในอุโบสถวัดราชาธิวาสวิหาร
พระประธานวัดราชาธิวาสวิหาร
พระตำหนักสมเด็จพระพันปีหลวง หรืออีกชื่อหนึ่งคือตำหนักพญาไท ทรงพระกรุณาโปรดให้ย้ายจากพระราชวังพญาไทมาปลูกไว้ที่คณะใต้ วัดราชาธิวาสวิหาร เคยเป็นที่ประทับประจำของพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง
ปฏิมากรรมสิงห์ภายในวัดราชาธิวาสวิหาร
ความจริงแดนดินถิ่นเทเวศน์มีเรื่องราวเล็กๆ
ซ่อนอยู่ในซอกหลืบลึกๆ ส่วนเรื่องราวใหญ่ๆ มีไม่น้อยไปกว่าถิ่นอื่น อาจแบ่งแยกความสำคัญได้หลายประเภท
เริ่มตั้งแต่ วัด วัง เวียง วิถี ซึ่งทั้งหมดหมายรวมถึง สถาปัตยกรรม วิถีชุมชน ยกตัวอย่างเช่น
ชุมชนคนวัด เทเวศน์มีทั้งวัดฝรั่งอย่างวัดคอนเซ็ปชัญแห่งพระแม่เจ้า
วัดไทยในรากหนึ่งของราชวงศ์จักรีอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร หอสมุดแห่งชาติ อาคารริมน้ำท่าวาสุกรี รวมถึงบ้านเก่ากับเรื่องราวริมน้ำเจ้าพระยาอีกมากมาย วันนั้นเราเดินจากถนนวนเข้าไปในตรอก
ออกมาอยู่ในซอย ปล่อยอารมณ์เลื่อนลอยไปกับเรือโยงบนสายน้ำเจ้าพระยา (เสียดายอยู่อย่างหนึ่งช่วงนี้หอสมุดแห่งชาติอยู่ในช่วงปรับปรุงจึงไม่ได้แวะเวียนเข้าไป)
พระตำหนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นอาคารที่เก่าแก่ที่สุดในวัด อายุประมาณ 150 ปี สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประทับสมัยที่ทรงผนวช เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ ปัจจุบันทำเป็นพิพิภัณฑ์หรือหอพระ
ทั้งหมดที่ผันผ่าน วัดวังบ้านที่ได้สัมผัส จากเช้าตรู่ถึงคืนค่ำ จากสายน้ำสู่อุโบสถ เทเวศน์บ่งบอกตัวตนเด่นชัด เน้นย้ำให้เรารักกรุงเทพฯ มากขึ้น และมากขึ้นไปอีก
ที่ประทับของบรมวงศานุวงศ์ในคราวมีพิธีทางชลมารค ท่าวาสุกรี
บ้านเก่าเล่าเรื่องกับอาชีพร้อยมาลัยในชุมชนหน้าวัดคอนเซ็ปท์ชัญ
ทางเดินเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา (ไปท่าวาสุกรี)
โดยรวมผมชอบบางกอก
รักบางกอก รักเพราะครอบครัวแม่อยู่ฝั่งธน ได้เห็นบางกอกมาตั้งแต่เล็ก แม้ตอนเป็นเด็กเรียนหนังสืออยู่ที่โคราช แต่ทุกปิดเทอมใหญ่แม่ส่งผมมาอยู่ที่บางกะเจ้า
หรือถูกส่งไปอยู่ที่คลองสอง ลาดกระบัง
ทั้งบางกะเจ้าและลาดกระบังเป็นบ้านติดน้ำทั้งสองที่ น้ำหนึ่งสายใหญ่ในนามเจ้าพระยา
อีกน้ำหนึ่งเป็นคลองสายเล็กที่อบอุ่น คุ้นทั้งสองที่
ดีทั้งสองบ้าน มีทั้งสวนทั้งสายน้ำ เป็นบ้านที่ก่อร่างสร้างความสุขได้โดยง่าย
ส่วนหนึ่งเกิดจากตายายจัดไว้ อีกส่วนหนึ่งเกิดขึ้นเองตามสภาพแวดล้อม
โบสถ์วัดคอนเซ็ปท์ชัญแห่งพระแม่เจ้า (ภายใน-ภายนอก)
สุสานวัดคอนเซ็ปท์ชัญแห่งพระแม่เจ้า
โครงการ Walking Bangkok หรือที่ผมเรียกว่า “กอดบางกอก” จบลงในดงความสุข
แต่ยังรู้สึกเสียดายโปรเจคต์นี้ คือผมกับน้องสาวสุดที่รัก “เจน สุนันทา” (ททท.)
และเพื่อนๆ สื่อมวลชนได้คิดร่วมกันในช่วงเกิดระเบิดที่ราชประสงค์
เราคิดกันว่าทำยังไงกรุงเทพฯ จะกลับมาสู่สายตานักท่องเที่ยว
ทำยังไงคนถึงจะมาเที่ยวกรุงเทพฯ ก็เลยเกิดโปรเจคต์นี้ขึ้นมา ที่สำคัญ
หลังจากเราย่ำใจไปบนรอยอดีต ใจเริ่มลงลึก เห็นลึกลงไปมากกว่าแนวความคิดเบื้องต้น ยิ่งค้น
ยิ่งลึก ยิ่งลึกจึงยิ่งรัก (อันนี้ไม่เกี่ยวกับอดีตนายกฯ) ยิ่งรักเพราะเห็นคุณค่าในสิ่งที่พบเจอ
หลังทริปสุดท้ายจบลง ใจหายนิดหน่อย ได้แต่บอกตัวเองว่าต้องหาโอกาสเดินต่อ
บางกอกยังมีอะไรให้เราค้นหาอีกเยอะครับ
ท่าเรือวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
ปลาสวายบริเวณวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
ทัศนียภาพแม่น้ำเจ้าพระยากับสะพานพระราม ๘ ยามเย็น บันทึกภาพที่ท่าเรือวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
hostel และ เกสต์เฮ้าส์ในเขตเทเวศร์
ริมคลองผดุงกรุงเกษมยามเย็นไปถึงค่ำคืน มีร้านขายลาบส้มตำเต็มไปหมด
ครัวอัปษร
ไข่เจียวอัปษร
ร้านนี้รสแซ่บได้ใจแบบอาหารใต้แท้ๆ
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบภาพสวยงามมากค่ะ เห็นภาพตามไปด้วย แชร์ไปแล้วค่ะของคุณค่ะ
ตอบลบ