ปราสาทหินพิมายหรือวิมาย เป็นปราสาทหินที่ยิ่งใหญ่ ใหญ่ในที่นี้หมายถึงเป็นสถาปัตยกรรมแบบขอมโบราณที่สมบูรณ์มาก วัสดุทั้งหมดทำจากหินทรายและศิลาแลง
สร้างขึ้นราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16-17 และก่อสร้างเพิ่มเติมบางส่วนในพุทธศตวรรษที่
18 (บางตำราบอกว่าปราสาทหินพิมายเป็นต้นแบบในการสร้างนครวัดในเขมร)
ปราสาทหินพิมายวางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม ประกอบด้วย สระขวัญ คูเมือง กำแพงชั้นนอก สะพานนาคราช โคปุระชั้นนอก(ประตูทางเข้า) โคปุระชั้นใน บรรณาลัย ปรางค์พรหมทัต และปราสาทองค์ประธาน
สะพานนาคราช
สร้างด้วยหินทรายเป็นรูปกากบาท ขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว31.70 เมตร ด้านทิศเหนือมีทางเดินเชื่อมต่อกับซุ้มประตูกำแพงปราสาททางทิศใต้
ราวสะพานโดยรอบทำเป็นลำตัวนาคราช ชูคอแผ่พังพาน มี 7 เศียร หันหน้าออกไปยังเชิงบันไดทั้งสี่ทิศ
ชาลาทางเดินเป็นทางเดินเชื่อมระหว่างระเบียงคตทางทิศใต้กับปราสาทองค์ประธาน
ปราสาทองค์ประธาน ทางทิศตะวันตก
ลวดลายสลักเสลาที่เสาประตูปราสาทองค์ประทาน
ปราสาทองค์ประธาน สร้างด้วยหินทรายสีขาว หันหน้าไปทางทิศใต้ สูง 28 เมตร ฐานรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุม กว้าง 22 เมตร มีมุข 3 ด้าน ด้านหน้ามีมณฑป
มณฑปคือห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 8x15 เมตร ทั้งตัวปราสาทและมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ประกอบด้วยฐานเชียงและฐานบัวเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นสลักลวดลายต่างๆ เช่น ลายกลีบบัว ลายประจำยาม
มณฑปคือห้องรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด 8x15 เมตร ทั้งตัวปราสาทและมณฑปตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ประกอบด้วยฐานเชียงและฐานบัวเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นสลักลวดลายต่างๆ เช่น ลายกลีบบัว ลายประจำยาม
ทับหลังรูปพระราม พระลักษณ์ต้องศรนาคบาต เหนือประตูปราสาทองค์ประธาน
ทับหลัง
ตามจารึกได้พูดถึงภาพเล่าเรื่องรามายนะว่ามีเนื้อหาสรรเสริญวีรบุรุษ ซึ่งต่อมาเมื่อศาสนาพราหมณ์เกิดขึ้นและได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดู เรื่องราวในมหากาพย์รามายนะได้ถูกดัดแปลงเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ (ปางที่ 7) เรียกว่า "รามาวตาร" ตามลัทธิไวษณพนิกายของศาสนาฮินดู (พระนารายณ์หรือพระวิษณุถือว่าเป็นเทพสูงสุด)
"รามาวตาร" จัดว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดคัมภีร์หนึ่งของศานาฮินดู ส่วนรายามายนะฉบับที่เก่าแก่ที่สุดแต่งโดยฤาษีวาลมิกิในต้นพุทธกาล ส่วนภาษาไทยนั้นมีชื่อว่า "รามเกียรติ์" มีเนื้อหาแตกตต่างกันไปบ้างตามความบิดพลิ้วทางจินตนาการและตกหล่นทางประวัติศาสตร์วรรณกรรม
"รามาวตาร" จัดว่าเป็นคัมภีร์ที่สำคัญที่สุดคัมภีร์หนึ่งของศานาฮินดู ส่วนรายามายนะฉบับที่เก่าแก่ที่สุดแต่งโดยฤาษีวาลมิกิในต้นพุทธกาล ส่วนภาษาไทยนั้นมีชื่อว่า "รามเกียรติ์" มีเนื้อหาแตกตต่างกันไปบ้างตามความบิดพลิ้วทางจินตนาการและตกหล่นทางประวัติศาสตร์วรรณกรรม
รามายนะที่สำคัญๆ ปรากฏให้เห็นบนหินสลักเหนือบานประตูที่เราเรียกันว่า "ทับหลัง" ในปราสาทขอมปรากฏทับหลังเล่าเรื่องรามายนะอยู่มากมาย ก่อเกิดเป็นเรื่องราวที่น่าติดตาม น่าสนใจศึกษา เป็นที่สนใจของนักประวัติสาสตร์ นักโบราณคดี ส่วนผู้ที่สนใจงานแกะสลักเกี่ยวกับงานศิลปะ ทับหลังเหล่านี้ถือเป็นงานแกะสลักชึ้นสูงที่เราเรียกว่า "งานครู"
ปฏิมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรขอม ในปรางค์พรมทัต ปราสาทหินพิมาย จ.นครราชสีมา
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
ในอดีตเคยยิ่งใหญ่ดั่งยอดคน เกริกฟ้า
มากมายปวงราษฎร์ชาติประชา กราบไหว้
เพียงนาทีหนึ่งอาณาจักรล้มเสื่อม วิญญาณสลาย
หายจาก
ที่ยังอยู่คงเคียงอดีต คือซาก พิมายเมือง
...............................
ปฏิมากรรมพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระพักตร์พระองค์ก้มต่ำ ทอดพระเนตรลงดิน
ช่างปั้นรูปนี้อาจไม่ได้ตั้งใจ แต่อดคิดไม่ได้ว่ามันหมายถึงการสิ้นสุดสายกษัตริย์
ซึ่งพระองค์เป็นผู้ครองแผ่นดินเขมรองค์สุดท้าย ก่อนอาณาจักรอันรุ่งเรืองล่มสลายลง
ขณะมองรูปเคารพของพระองค์มีความรู้สึกเหมือนพระองค์ยังคงอยู่
มีวิญญาณแต่ไม่มีลมหายใจ หินก้อนใหญ่ดูเบาโหวง
เหมือนพระองค์กำลังปลดปล่อยตัวเองออกจากพันธนาการศรัทธาที่ทับถมมาหลายพันปี แต่สุดท้ายอาจสลัดไม่หลุดเพราะพระองค์ต้องมนต์คำสาปจนมิอาจหายไปจากวิมายปุระแห่งนี้ หรือวิญญาณนั้นถูกกำหนดให้สถิตย์อยู่คู่ปราสาทหินตราบนานเท่านาน (อาจเป็นเพียงเรื่องราวไร้สาระที่ผมรู้สึกไปเอง)
มณฑป มองจากหน้าต่างปราสาทองค์ประธาน
มีใครบางคนบอกว่าคนไทยไม่ชมพิพิธภัณฑ์ ไม่ไปเที่ยวปราสาทหิน ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมเห็นด้วยว่าเป็นเช่นนั้น แต่ตอนนี้ผมว่าไม่ใช่ คือมีคนไทยส่วนหนึ่งมองเห็นคุณค่าอดีต ตามหาสิ่งที่ยังหลงเหลือ ถ้าไม่มีก็ไม่เห็นค่า ถ้าไม่มาก็ไม่ประจักษ์ แต่จะมีกี่คนที่รักและเริ่มเดินทางค้นหาอดีตจากพิพิธภัณฑ์ วัด และปราสาทหิน สำหรับผมเชื่อว่าก้าวเท้าไปบนแดนดินถิ่นเดิมเพื่อเรียนรู้รากเหง้าถือเป็นการพัฒนาความรู้จากปัจจุบันให้เดินทางไปสู่อนาคต (ประมาณรู้รากเพื่อจากลายังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย)
ความจริงการเดินทางท่องเที่ยวเชิงศึกษานั้นสนุกได้หากมีการเตรียมพร้อมเรื่องข้อมูล คือถ้าเราศึกษามาบ้างหรือมีข้อมูลติดตัวมาพร้อมคำถาม เราจะได้รับคำตอบที่น่าพิศวง และอาจเพลิดเพลินจนหลงลืมไปว่าเรายืนอยู่ในปัจจุบันโดยมีอดีตหลายพันปี โอบกอดอยู่
กำแพงชั้นใน
เอกสารอ้างอิง
- นำชมอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย กรมศิลปากร
หมายเหตุ
- ปราสาทหินพิมาย ตั้งอยู่ที่อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปบนถนนมิตรภาพประมาณ 60 กิโลเมตร
- ช่วงเช้ากับช่วงบ่ายเป็นช่วงที่น่าเยี่ยมชมเพราะไม่ร้อนมาก ที่สำคัญแสงอาทิตย์ที่สาดส่องตัวปราสาททำให้เกิดความงามและมีมิติ
- รอบๆ ปราสาทหินมีร้านอาหารบริการ ทั้งอาหารไทย (ถิ่น) อาหารฝรั่ง ญี่ปุ่น และอาหารไทยประยุกต์แบบสเต็กจิ้มแจ๋ว (ร้านยิ้ม)
- สถานทีท่องเที่ยวใกล้เคียง ไทรงาม และแหล่งโบราณคดีบ้านปราสาท
กำแพงชั้นนอก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น